top of page
54290.jpg

เรือนทันตกรรม
เมื่อ พ.ศ. 2495

กลุ่มงานทันตกรรม

ประวัติความเป็นมา

        

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

           

 

 

          ก่อนปี 2495 มีทันตแพทย์ชั้น 2 ทำงาน 1 ท่าน คือ นายจำลอง วีระแพทย์โกศล งานทันตกรรมขึ้นกับแผนกชายโดยตรง

 

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

            22 เมษายน 2495 ได้ทันตแพทย์ปริญญาท่านแรกคือ ทันตแพทย์หญิงทวีศรี (สุยวณิชย์) หะริณสุต ขณะนั้นทันตกรรมอยู่ที่เรือนรสสุคนธ์ ห้องทำงานอยู่ห้องเล็กๆ ห้องสุดท้าย มีเครื่องมือ เครื่องใช้ คือ เตาอั้งโล่กับกะละมัง และเครื่องกรอฟันโบราณ บรรยากาศสงบเงียบ เดี่ยวๆ จะมีผู้ป่วยชายโผล่หน้ามาดู ช่วยให้เงียบน้อยลง

         

       ปี 2496 นายแพทย์ประสพ รัตนากร หัวหน้าแผนกชายในขณะนั้น เห็นว่าเป็นงานอีกสาขาหนึ่งต่างจากจิตเวช จึงได้แยกออกมาเป็นแผนกทันตกรรม ขึ้นตรงกับผู้อำนวยการ

          ผู้ป่วยชาย-หญิง แยกกันโดยเด็ดขาด งานทันตกรรมอยู่ในแผนกชาย จึงไม่สะดวกกับผู้หญิงที่จะเข้ามารักษา ผู้อำนวยการศาสตราจารย์ นายแพทย์อรุณ ภาคสุวรรณ์ จึงสร้างเรือนทันตกรรม ให้ใหม่ที่ใต้ต้นโพธิ์ (อยู่ตรงส่วนท้ายของตึกแสงสิงแก้ว) ซึ่งอยู่ระหว่างแผนกหญิงและแผนกชาย

          ลักษณะเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว สร้างในปี 2497 รับรักษาเฉพาะผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่กับครอบครัวเท่านั้น เวลาเช้ารับผู้ป่วยชาย 10 คน เวลาบ่ายรับผู้ป่วยหญิง 10 คน มีเจ้าหน้าที่ของตึกพามา ต่อมาได้ทันตนามัยเพิ่มอีก 2 คน จึงรับรักษาได้เวลาละ 15 คน

         

 

          ย้ายมาอยู่ตึกทันตกรรมด้านถนนลาดหญ้า ในปี 2511 ด้วยเหตุผลที่ว่า ควรให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปด้วย เพราะทางฝั่งธนบุรียังไม่มีโรงพยาบาลของกรมการแพทย์ให้การรักษาเรื่องทันตกรรมเลย จึงได้รับอนุญาตให้เปิดทำการรักษาทางทันตกรรมแก่ประชาชนด้วย เหมือนโรงพยาบาลฝ่ายกายทั่วๆไป และรักษาทุกแขนงวิชา

        จนกระทั่งปี 2513 ได้ทันตแพทย์มาเพิ่มและได้มาเรื่อยๆ จนปัจจุบันมีทันตแพทย์ 3 , ผู้ช่วยทันตแพทย์ 3

         

 

 

       

 

 

         ปี 2520 ศูนย์ทันตกรรม ส่งนักเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์ หลักสูตร 1 ปี มาฝึกงานและทันตแพทย์ในแผนกไปสอบที่ศูนย์ด้วย นักเรียนผู้ช่วยทันตแพทย์รุ่นแรกซึ่งสำเร็จในปี 2521 มาทำงานในแผนกตั้งแต่นั้นมา

          โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวที่ให้บริการใส่ฟันในแถบฝั่งธนบุรีอีกทั้งงานทันตกรรมในผู้ป่วยจิตเวช เป็นงานที่ยากลำบาก ต้องใช้ความชำนาญสูงในการทำฟัน อดทน ใช้เวลาอธิบายชี้แจงทั้งแก่ตัวผู้ป่วยเองและญาติ แม้จะมีบุคลากรน้อย แต่ด้วยความมานะและร่วมแรงร่วมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จึงผลิตผลงานเด่นได้หลายชิ้น เช่น ผลิตยาสีฟันทั้งชนิดธรรมดาและเคลือบฟันกันเสียว ผลิตแผ่นยางใส่รองฟันกันกัดลิ้นขณะรักษาด้วยไฟฟ้า ให้ความรู้เรื่องทันตนามัย ทันตสุขศึกษาแก่ประชาชนด้วยการสาธิตและบรรยายทุกเช้า อันเป็นการป้องกันตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข

6072.jpg
54288.jpg
54290.jpg
54289.jpg

ที่มา หนังสือ 104 ปี โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา

bottom of page